กว่าจะไปถึงจุดนั้น
"เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไง" เป็นอีกหนึ่งวลีฮิตติดปากอยู่ในขณะนี้
จากโจอี้ บอย นักร้องแร็พเปอร์คนดัง
ในระหว่างทางกว่าจะไปถึงจุดนั้น แต่ละคนย่อมใช้เวลา ใช้ปัจจัยไม่เหมือนกัน สั้นบ้างยาวบ้าง ผ่านการล้มลุก ล้มเหลว ผ่านความเจ็บปวด เหนื่อยล้า มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน พอเรามาถึงจุดนี้ย่อมแข็งแกร่งพอที่จะเดินหน้าต่อไปอย่างมิหวาดหวั่น สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราก้าวผ่านจุดล้มมาได้เสมอนั่นคือความอดทน และการรอคอยอย่างมีความหวัง มีความศรัทธาในสิ่งที่ทำ ใช่หรือไม่ มีไม่น้อยเหมือนกันที่ล้มละลายก่อนถึงปลายทางเพราะขาดหัวใจหรือไม่ใช้หัวใจของนักสู้ ยอมแพ้ท้อแท้และเลิกราที่จะก้าวต่อไป
หากมองในภาพรวมของโลกใบนี้ที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมนุษยชาติมีความเชื่อมั่นในความฉลาดล้ำในสมองของมนุษย์และมักตั้งคำถามว่า
"เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร" จึงทำให้เกิดการค้นคิดเพื่อย้อนกลับไปถึงต้นกำเนิดแรกสุดนั่นคือ
การก่อเกิดของสรรพสิ่ง เพื่อที่จะค้นหาคำตอบ จึงได้มีการศึกษาทั้งสิ่งที่อยู่ในโลกและนอกโลก
สิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ดังเช่น ที่เราได้เห็นได้อ่านได้ชมจากสื่อต่าง ๆ ถึงความก้าวหน้าในการย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มของสิ่งสร้าง
ช่วงนี้เป็นข่าวใหญ่ในวงการดาราศาสตร์ เมื่อยานอวกาศ New
Horizons ของ NASA บินผ่าน ดาวพลูโต
(Pluto) ซึ่งยานลำนี้ได้ปล่อยไปสำรวจดาวพลูโตเมื่อ 9 ปีก่อน ใกล้ถึงดาวพลูโตแล้ว โดยเมื่อ 12
กรกฎาคมที่ผ่านมา ยานอวกาศ New Horizons ได้ส่งภาพพื้นผิวพลูโตกลับมายังโลก
โดยมีภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายหัวใจ
พลูโตนั้นเป็นดาวที่มีขนาดเล็กมาก เล็กกว่าดวงจันทร์ของเรา พลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่าง
ๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะได้ และให้ถือว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ
พลูโต จะช่วยเราในการศึกษาถึงที่มาของดาวหินที่เป็นดาวเคราะห์ชั้นใน ไม่ว่าจะเป็น
ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร ซึ่งเคยผ่านการเป็นดาวเคราะห์หินโล้น ๆ เหมือนพลูโตมาแล้ว
และด้วยการค้นพบ แถบไคเปอร์ ทำให้พลูโตยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีก ซึ่งคาดว่าหินที่ได้มาชนโลกเราจนก่อให้เกิดพัฒนาการครั้งใหญ่ทำให้โลกของเราเอื้ออำนวยต่อการมีชีวิต
ดังนั้นการที่เราเข้าใจธรรมชาติของพลูโต ก็จะยิ่งทำให้เราเข้าใจถึงการกำเนิดโลกได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
และอีกข่าวหนึ่งซึ่งเป็นการค้นหาคำตอบในเรื่องที่ใกล้เคียงกันแต่ทำการทดลองบนโลกนี้
โดยองค์กร CERN ประดิษฐ์เครื่องชนอนุภาคแอลเอชซี และทำการทดลองมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
ล่าสุดยืนยันการค้นพบอนุภาคใหม่ "เพนทาควาร์ก"
นักวิทยาศาสตร์ซึ่งทำการทดลองด้วยเครื่องชนอนุภาคแอลเอชซีแถลงว่า มีการตรวจจับอนุภาคชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า
"เพนทาควาร์ก" (pentaquark) ในระหว่างการทดลองได้
โดยอนุภาคชนิดนี้ได้เคยมีการทำนายว่ามีอยู่ โดยใช้วิธีการคำนวณในทางทฤษฎีมาแล้ว เมื่อปี
1964 อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีผู้ที่สามารถทำการทดลองพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่า
อนุภาคดังกล่าวมีอยู่จริง
ทั้งนี้ เพนทาควาร์กเป็นสถานะหนึ่งของควาร์ก หรืออนุภาคมูลฐานระดับย่อยที่สุด
ซึ่งประกอบไปด้วยควาร์กห้าตัวรวมกัน โดยมีควาร์กปกติ 4 ตัว และแอนติควาร์กอีกหนึ่งตัว(สำนักข่าว : บีบีซี ไทย)
จากเหตุการณ์ข่าวใหญ่ระดับมนุษยชาติทั้ง 2 ข่าว กับคำถามที่ว่า
"เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง" ทำให้เรามองย้อนกลับเข้ามาในชีวิตจริงของเรา
แน่ล่ะ ทั้งหลายทั้งปวงในชีวิตเราย่อมมีที่มาที่ไป เราจำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องหรือไม่
จำเป็นต้องจำทุกสิ่งที่วิ่งผ่านเข้ามาหรือไม่ ไม่เลย เรารู้แค่บางเรื่องที่ดีงาม จดจำความงดงามก็เพียงพอ
ยามท้อพักลงมองกลับไปในสิ่งเหล่านี้ ใช่...เรามาถึงจุดนี้ได้เพราะความรัก
ความเพียร ความศรัทธาในการทำดี เราจึงเห็นถึงความยิ่งใหญ่และคุณค่าของ
"ชีวิต" แล้วลุกขึ้นเดินหน้าต่อไปสู่สันติสุขอีกครั้ง
และอีกครั้ง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น