บทสนทนาว่าด้วยความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์ : เธอเป็นชาวคริสต์ใช่มั้ย อัลเบิร์ต? นักศึกษา
: ใช่ครับ
ศาสตราจารย์ : แล้วเธอเชื่อใน ‘พระเจ้า’ รึเปล่า? นักศึกษา : แน่นอนครับ
ศาสตราจารย์ : พระเจ้าเป็นผู้ดีงามใช่หรือไม่? นักศึกษา : แน่สิครับ
ศาสตราจารย์ : พระเจ้าทรงอำนาจที่สุดใช่มั้ย? นักศึกษา : ครับ
ศาสตราจารย์ : น้องชายของอาจารย์เสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็ง
ทั้งที่เขาวิงวอนขอให้พระเจ้าช่วยรักษาเขา
มนุษย์เราล้วนพยายามช่วยเหลือผู้อื่นที่ป่วยไข้ แต่พระองค์ท่านกลับไม่ช่วยอะไร
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระเจ้าจะเป็นผู้ดีงามได้อย่างไรล่ะ? (นักศึกษาเงียบ...)
ศาสตราจารย์ : ตอบไม่ได้ใช่มั้ยล่ะ? งั้นใครคือผู้สร้างความชั่วร้ายขึ้นมา? (นักศึกษาไม่ตอบอะไรออกมา...)
ศาสตราจารย์ : ความป่วยไข้ ไร้มนุษยธรรม ความชิงชัง
ความน่ารังเกียจ โลกนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่เลวร้ายเหล่านี้ใช่มั้ย?
นักศึกษา : ใช่ครับ
ศาสตราจารย์ : งั้นใครสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา? (นักศึกษาไม่มีคำตอบให้)
ศาสตราจารย์ : ในทางวิทยาศาสตร์นั้น คนเรามีประสาทสัมผัสทั้ง 5 เอาไว้สังเกตและเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
ไหนลองบอกอาจารย์สิว่า เธอเคยเห็นพระเจ้ารึเปล่า?
นักศึกษา : ไม่เคยครับ
ศาสตราจารย์ : เธอเคยได้สัมผัสของพระเจ้าด้วยประสาททั้ง 5 รึเปล่า?
นักศึกษา : ก็ไม่เคยครับ
ศาสตราจารย์ : แล้วเธอยังจะเชื่อในพระองค์ท่านอีกงั้นรึ?
นักศึกษา : ใช่ เพียงเพราะผมมีความเชื่อ
ศาสตราจารย์ : ช่าย... ความเชื่อนี่แหละที่เป็นตัวปัญหาของวิทยาศาสตร์
นักศึกษา : อาจารย์ครับ โลกนี้มีความร้อนอยู่มั้ย? ศาสตราจารย์
: มีสิ
นักศึกษา : แล้วโลกนี้มีความเย็นอยู่มั้ย? ศาสตราจารย์ :
แน่นอน
นักศึกษา : ผิดครับ ความเย็นไม่มีอยู่จริง..... (ห้องเรียนถึงกับเงียบสงัดเมื่ออาจารย์โดนนักศึกษาคนนี้ดักเข้าให้)
นักศึกษา : อาจารย์ครับ เราสามารถมีความร้อนเท่าใดก็ได้
ยิ่งร้อน โคตรร้อน ร้อนสุดๆ ร้อนจนสูญสลาย หรือจะมีความร้อนเล็กน้อย
จนกระทั่งไม่มีความร้อนเลย แต่เราไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความเย็นอยู่ครับ
เราสามารถสร้างสภาวะติดลบ 458 องศาฟาเรนไฮต์ที่ไร้ซึ่งความร้อนอยู่เลยได้
แต่เราไม่สามารถลบไปได้มากกว่านั้น ความเย็นไม่มีอยู่จริงครับ
มันก็แค่คำที่เราใช้เรียกภาวะที่มีความร้อนน้อย เราไม่สามารถวัดค่าความเย็นได้
ความร้อนเป็นพลังงานครับ แต่ความเย็นไม่ใช่สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความร้อนหรอกครับ
มันก็แค่การปราศจากความร้อนเท่านั้นเอง
(เสียงหมุดเล่มหนึ่งตกลงท่ามกลางความเงียบงันของห้องเรียนรวม)
นักศึกษา : แล้วความมืดล่ะครับอาจารย์? ความมืดมีอยู่จริงมั้ย?
ศาสตราจารย์ : จริงสิ ถ้าไม่มีความมืด
แล้วจะเกิดกลางคืนได้อย่างไร?
นักศึกษา : ผิดอีกครับ ความมืดก็คือภาวะที่ปราศจากบางสิ่งบางอย่าง
เราสามารถหรี่แสง ทำแสงปกติ ทำแสงจ้า ทำแสงสว่างวาบ แต่ถ้าไม่มีแสงอยู่เลย
ก็จะไม่มีสิ่งใด และเราก็เรียกมันว่าความมืดไม่ใช่เหรอครับ? ความมืดน่ะไม่มีอยู่ในความเป็นจริง
เพราะหากมันมีอยู่จริงแล้ว เราก็ต้องสร้างภาวะที่มืดมิดขึ้นไปเรื่อยๆ ได้สิครับ?
ศาสตราจารย์ : ประเด็นของเธอคืออะไรกันแน่?
นักศึกษา : อาจารย์ครับ
ประเด็นของผมคือแนวคิดในสมมติฐานของอาจารย์บกพร่อง
ศาสตราจารย์ : บกพร่อง? ไหนลองว่ามาสิ? นักศึกษา : อาจารย์คิดอยู่บนแนวคิดคู่ขนาน
อาจารย์อภิปรายว่าเมื่อมีชีวิตแล้วก็ย่อมมีความตาย
มีพระเจ้าที่ดีและพระเจ้าที่ร้าย
อาจารย์มีมโนคติสำหรับพระเจ้าในฐานะสิ่งที่มีขอบเขตจำกัดตายตัว
สิ่งที่เราสามารถวัดได้ อาจารย์ครับ วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายความคิดได้ด้วยซ้ำ
มันมีกระแสไฟฟ้าและอำนาจแม่เหล็ก แต่เราก็ไม่เคยเห็นมัน เราแทบไม่เข้าใจมันเลยด้วยซ้ำ
การมองว่าความตายคือด้านตรงข้ามของการมีชีวิต
ก็คือการมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าความตายไม่สามารถดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศได้ครับ
ความตายไม่ใช่ด้านตรงข้ามของการมีชีวิต ก็แค่ภาวะปราศจากชีวิตเท่านั้น
ตอนนี้บอกผมหน่อยสิครับอาจารย์ คุณสอนพวกผมว่ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิงใช่มั้ย?
ศาสตราจารย์ : ถ้าเธอกำลังพูดถึงในแง่วิวัฒนาการตามธรรมชาติ
มันก็ใช่แน่นอน ฉันสอนแบบนั้น นักศึกษา :
อาจารย์เคยเห็นวิวัฒนาการที่ว่านั้น กับตาตัวเองรึเปล่าครับ?
(ศาสตราจารย์ส่ายหน้าด้วยรอยยิ้ม
เขาเริ่มรู้ตัวว่ากระแสการสนทนาจะไปในทิศทางใด)
นักศึกษา : ทั้งที่ไม่มีใครเคยเห็นขั้นตอนการวิวัฒนาการ
และพิสูจน์ไม่ได้ด้วยซ้ำว่าขั้นตอนเหล่านี้มันยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ หรือไม่ (ความเงียบเข้าปกคลุมห้องเรียนอีกครั้ง
แล้วอาจารย์ก็จ้องมองไปยังนักศึกษาคนนั้น ด้วยสีหน้าที่ไม่อาจเข้าใจความนึกคิดได้)
ศาสตราจารย์ : อาจารย์ว่า ก็คงต้องทำให้พวกเขาเชื่อถือให้ได้ล่ะ
นักศึกษา : ใช่แล้วครับ.... ถูกต้องแล้ว!
สิ่งที่เชื่อมระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ก็คือความเชื่อ
และนั่นก็คือสิ่งที่ทำให้ทุกชีวิต ดำเนินต่อไปได้
นักศึกษาคนนั้นชื่อเต็มๆ ว่า “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”
คงได้รับสิ่งดีๆ
จากหลักคิดของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลก ที่เชื่อในพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ
วิทยาศาสตร์เป็นเพียงความรู้แขนงหนึ่งซึ่งไม่อาจจะเปรียบกับความยิ่งใหญ่ขององค์พระผู้สร้างได้เลย